หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด > ยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙)
ยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) 22 มกราคม 2556

ยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙)
คณะผู้วิจัย
หัวหน้าโครงการ
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ผู้วิจัย
นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ผู้ทรงคุณวุฒิด้านข้าว และนักวิจัยอิสระ
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจาปี ๒๕๕๔
มิถุนายน ๒๕๕๕


คำนำ
    ยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบการดำเนินงานวิจัย เพื่อพัฒนาข้าวไทยทั้งในด้านการผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภคของคนทั้งประเทศ และผลิตเพื่อส่งออกให้มีคุณภาพและปริมาณเป็นอันดับหนึ่งของโลก
    สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านข้าว และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ จัดทำยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) โดยคณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลโครงการวิจัยด้านข้าว ประกอบด้วย งานวิจัยและพัฒนาด้านพันธุ์ข้าว งานวิจัยเทคโนโลยีด้านการผลิตข้าว งานวิจัยเทคโนโลยีด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวข้าว งานวิจัยเทคโนโลยีด้านการแปรรูปข้าว และงานวิจัยด้านเศรษฐกิจและการตลาดข้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๓ ของหน่วยงานที่มี พันธกิจด้านการวิจัยและพัฒนา และการสนับสนุนทุนวิจัยด้านข้าว และนำผลจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้การดำเนินงานวิจัยมาผ่านกระบวนการประชาพิจารณ์และให้ข้อเสนอแนะต่อยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ เพื่อกำหนดกรอบการพัฒนาทิศทาง เป้าหมายและกลยุทธ์ของแผนยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทยระยะยาวต่อไป อันจะนำไปสู่การบูรณาการระบบจัดการงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการให้ทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับข้าวต่อไป
    สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จึงเห็นควรให้จัดพิมพ์เอกสารฉบับนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิจัย และผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นเอกสารในการประกอบการดำเนินงานโครงการวิจัยข้าวไทยที่เป็นเอกภาพเพื่อให้งานวิจัยข้าวไทยสัมฤทธิผลในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)

การประเมินสภาพแวดล้อมของสถานการณ์ข้าวไทย
๑. จุดแข็ง (Strengths)
    ๑.๑ ประเทศไทยมีเสถียรภาพในการผลิตข้าวสูง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศ เอื้อต่อการปลูกข้าว และความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติน้อย
    ๑.๒ ประเทศไทยสามารถผลิตข้าวได้หลากหลายชนิดทุกชั้นคุณภาพ เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุม ข้าวขาว ๑๐๐% - ๒๕% ปลายข้าว ข้าวนึ่ง และเหนียว สามารถตองสนองกับความต้องการของตลาดได้ทุกตลาด ที่สำคัญประเทศไทยสามารถปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ และพันธุ์ กข ๑๕ ซึ่งเป็นข้าวหอมที่มีคุณสมบัติโดดเด่น ในด้านกลิ่นหอม เมล็ดข้าวสารใส เรียวยาว นุ่ม และทานอร่อย เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก นอกจากนี้ยังมีข้าวพันธุ์ปทุมธานี ๑ และพันธุ์ กข ๓๓ (หอมอุบล ๘๐) ก็จัดเป็นข้าวหอมที่มีคุณสมบัติดีเช่นกัน
    ๑.๓ ประเทศไทยมีความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิจัยพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ โดยมีเชื้อพันธุ์ข้าวที่เก็บรวบรวมไว้ในธนาคารเชื้อพันธุ์ข้าวมากกว่า ๒๐,๐๐๐ ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นข้าวพื้นเมืองของไทย ๑๗,๐๐๐ ตัวอย่างเชื้อพันธุ์
    ๑.๔ ข้าวไทยเป็นข้าวที่ประจักษ์ว่าเป็นข้าวคุณภาพดี มาเป็นเวลายาวนานอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การขนส่งออกข้าวไทย เป็นที่ยอมรับในความน่าเชื่อถือในด้านคุณภาพแก่ประเทศผู้ซื้อ
    ๑.๕ ข้าวมีความผูกพันกับชีวิตคนไทยมาตั้งแต่โบราณนับพันปี การปลูกข้าวก่อให้เกิดขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามคู่กับชาติไทย สืบสานต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอาชีพที่เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณในการเพาะปลูกข้าวซึ่งถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษสู่ลูก หลานชาวนาในปัจจุบัน ถือได้ว่าชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติสามารถใช้ทักษะและประสบการณ์ที่สร้างสมมายืนหยัดต่อสู้กับความยากลำบากนานัปการ เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารเพื่อเลี้ยงคนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญชาวนาถือได้ว่าเป็นชนกลุ่มใหญ่ มีจำนวนมากถึง ๓.๗ ล้านครัวเรือน เป็นกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดในบรรดาเกษตรกรทั้งหลาย อยู่กระจายกันทั่วประเทศ แต่มีบทบาทต่อภาวะการเมือง การปกครองและความมั่นคงของประเทศรัฐบาลทุกรัฐบาลจะให้ความสนใจในปัญหาเรื่องข้าวของชาวนามากที่สุด เพราะถือว่าเป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ของประเทศ

๒. จุดอ่อน (Weaknesses)
    ๒.๑ พื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่อยู่เขตน้าฝน โดยพื้นที่กว่าร้อยละ ๗๐ อยู่ในเขตน้าฝน ไม่มีระบบน้ำชลประทาน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำ สภาพดินส่วนใหญ่มีปัญหาเสื่อมโทรม ขาดแคลนอินทรียวัตถุ ดินมีสภาพแข็ง เนื่องจากมีการใช้ปุ๋ยเคมีสะสมมาเป็นเวลานาน ประกอบกับสภาพดินในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนล่างซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าว ดินมีสภาพความเปรี้ยวจัด ส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินมีสภาพเป็นดินเค็ม ซึ่งต้องมีการจัดการทรัพยากรดินอย่างเหมาะสมจึงจะเพิ่มผลผลิตได้
    ๒.๒ ปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยชาวนาภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างในเขตชลประทานมีการทานาปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องตลอดปี ทำให้ชาวนาต้องเร่งการผลิต หรือผลิตที่ไม่คำนึงคุณภาพข้าวที่จะได้ ส่งผลให้ระบบนิเวศขาดความสมดุล ดินเสื่อมเกิดการระบาดของโรคแมลงศัตรูข้าว ทำให้ข้าวที่ได้มีคุณภาพต่า ส่งผลให้ผลผลิตเกิดการสูญเสีย ในขณะเก็บเกี่ยวสูงประมาณร้อยละ ๕-๑๐ ของปริมาณผลผลิตทั้งหมด ผลผลิตที่ได้บางส่วนมีคุณภาพต่ำ นอกจากนี้ชาวนามีการเก็บเกี่ยวข้าวโดยใช้เครื่องเกี่ยวนวดขณะที่ข้าวยังมีความชื้นสูง และจำหน่ายข้าวทันที หากจัดการไม่ดีจะทาให้ข้าวมีคุณภาพต่า
    ๒.๓ ประสิทธิภาพการผลิตข้าวต่ำ กล่าวคือ ผลผลิตข้าวเฉลี่ยต่อไร่จากนาปีและนาปรังปีเพาะปลูก ๒๕๕๑/๕๒ ได้เพียงไร่ละ ๔๕๓ กิโลกรัม (นาปี ปีเพาะปลูก ๒๕๕๑/๕๒ ได้ไร่ละ ๔๐๕ กิโลกรัม ส่วนนาปรัง ปีเพาะปลูก ๒๕๕๒ ได้ไร่ละ ๖๗๙ กิโลกรัม) จัดว่ายังต่ำมาก ขณะที่ผลผลิตข้าวเฉลี่ยของโลกปี ๒๕๕๐/๕๑ ไร่ละ ๖๖๙ กิโลกรัม สหรัฐอเมริกา ๑,๒๙๔ กิโลกรัม จีน ๑,๐๒๙ กิโลกรัม และเวียดนาม ๗๙๗ กิโลกรัม โดยสาเหตุสำคัญที่ประสิทธิภาพการผลผลิตข้าวของประเทศไทยยังต่ำอยู่คือพื้นที่ปลูกข้าวส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน อาศัยน้ำฝนในการเพาะปลูก และสภาพดินส่วนใหญ่มีปัญหาเสื่อมโทรม รวมทั้งขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี
    ๒.๔ ต้นทุนการผลิตสูง ชาวนามีค่าใช้จ่ายการผลิตสูงขึ้นทุกปีทั้งค่าแรง ค่าปุ๋ยเคมี ค่าสารเคมี และค่าเมล็ดพันธุ์ ทั้งนี้ เนื่องจากชาวนาส่วนใหญ่มีการใช้ปัจจัยการผลิตที่สูงมากเกินกว่าคำแนะนำ และการใช้กรรมวิธีการผลิตที่ยังไม่ถูกต้องเหมาะสม ขาดการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการให้มีประสิทธิภาพและสอดรับกันทั้งระบบ ตั้งแต่การขนส่งและการจัดเก็บปัจจัยการผลิต การเก็บรักษาผลผลิต จนถึงการขนส่งผลผลิตไปจำหน่ายให้ผู้รับซื้อข้าว
    ๒.๕ ชาวนาขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี การผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้ของชาวนาอย่างพอเพียงและทั่วถึง
    ๒.๖ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มยังมีน้อย และยังไม่สามารถแปรรูปผลิตภัณฑ์ขั้นสูง รวมทั้งขาดระบบการเชื่อมโยงวัตถุดิบข้าวที่มีคุณภาพ เพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์
    ๒.๗ ชาวนารายย่อย ยังขาดความรู้ ชาวนาอีกเป็นจำนวนมากยังขาดการพัฒนาให้มีความรู้และความสามารถในการผลิตข้าว และการบริหารจัดการอย่างจริงจัง และส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยยังไม่ให้ความสำคัญเพียงพอในการสร้างความเข้มแข็งในรูปสถาบันเกษตรกร
    ๒.๘ ชาวนามีอายุมาก รายได้ต่ำ ชาวนาซึ่งเป็นเกษตรกรส่วนใหญ่ของเกษตรกรทั้งประเทศมีสัดส่วนรายได้จากการทำนาต่ำกว่าอาชีพการเกษตรอื่นๆ เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีฐานะด้อยกว่าเกษตรกรอื่นทั้งในด้านระดับการศึกษา โอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การได้รับสวัสดิการจากภาครัฐ อาชีพทำนาไม่สามารถทำรายได้แก่ชาวนาอย่างเพียงพอ จึงเกิดการละทิ้งนาเพื่อแสวงหาแหล่งรายได้อื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า รวมทั้งลูกหลานชาวนาปฏิเสธที่จะสืบทอดอาชีพการทำนา เนื่องจากยากลำบาก รายได้น้อย ขาดสวัสดิการหรือระบบการประกันรายได้ที่เหมาะสม ประกอบกับชาวนาปัจจุบันมีอายุระหว่าง ๔๐-๕๗ ปี คิดเป็นร้อยละ ๖๗.๙ อายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ ๑๑.๖ อายุเฉลี่ยประมาณ ๕๗ ปี และแนวโน้มในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าชาวนาจะมีอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปัจจุบันชาวนาเป็นจำนวนมากหลุดจากฐานชุมชนที่เคยเป็นเจ้าของและต้องเช่าที่นาทำมาหากิน ส่งผลให้ชาวนาไม่มีแรงจูงใจในการที่จะปรับปรุงพื้นที่นาให้มีสภาพอุดมสมบูรณ์ ทาให้การทำงานกับชาวนามีความยากลำบาก
    ๒.๙ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับชาวนายังขาดเอกภาพ องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวและชาวนา มีจำนวนมากซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ตามที่กลุ่มบุคคลทั่วไปประกอบอาชีพเหมือนกันต้องการแก้ปัญหาของตนเป็นหลัก สมาคมต่างๆ ยังขาดความเป็นเอกภาพในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการผลิตข้าวของชาวนา
    ๒.๑๐ หน่วยงานวิจัยด้านข้าวขาดแคลนนักวิจัยและงบประมาณ งานวิจัยด้านข้าวยังขาดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานวิจัยทั้งหมดของประเทศ หน่วยงานยังขาดแคลนนักวิจัยข้าว โดยเฉพาะนักปรับปรุงพันธุ์ข้าว รวมทั้งขาดการสนับสนุนงบประมาณ และเครื่องมืออุปกรณ์ในการวิจัยที่ทันสมัย
    ๒.๑๑ มีองค์กรและคณะกรรมการกำกับดูแลที่ให้ความสำคัญของข้าวในฐานะเป็นพืชเศรษฐกิจหลักหลายองค์กร เช่น คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ และกรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ แต่ขาดการบูรณาการที่ดี

๓. โอกาส (Opportunities)
    ๓.๑ ความต้องการบริโภคข้าวของโลกยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของประชากรเพิ่มมากขึ้น และความต้องการบริโภคข้าวยังมีปริมาณสูงกว่าผลผลิตข้าวโลกมาโดยตลอด
    ๓.๒ ข้าวคุณภาพดียังเป็นที่ต้องการของตลาดอีกมาก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิของประเทศไทยเป็นที่ต้องการของตลาดมากมีแนวโน้มการส่งออกส่ง
    ๓.๓ ความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันประชากรของโลกหันมาให้ความสนใจและห่วงสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะอาหารเพื่อสุขภาพรวมทั้งข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ใช้เป็นอาหารเสริม และยา
    ๓.๔ ชาวนาไทยตื่นตัวจากการเปิดเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) โดยเฉพาะภายในเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ทำให้ชาวนาไทยตื่นตัวและเป็นโอกาสที่จะกระตุ้นให้ชาวนาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของตนเอง

๔. ข้อจำกัด (Threats)
    ๔.๑ ประเทศต่างๆ ตื่นตัวในการวิจัยพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวหอม ที่มีลักษณะคล้ายกับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕
    ๔.๒ สภาพภูมิอากาศของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันสภาพภูมิอากาศของโลกมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรงและทางอ้อม อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น การสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ต่างๆ ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ภัยธรรมชาติ และโรคระบาด
    ๔.๓ ประเทศคู่แข่งในการผลิตและการค้ามีมากขึ้น และแข็งแกร่งขึ้น ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา อินเดีย จีน กัมพูชา
    ๔.๔ ประเทศผู้นำเข้ามามีมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มขึ้น เช่น ด้านสุขอนามัย และสิ่งแวดล้อม
    ๔.๕ ปัจจัยการผลิตที่นาเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูง ปัจจัยการผลิตที่สาคัญ เช่น ปุ๋ยเคมี สารเคมีป้องกันกำจัดวัชพืช ศัตรูพืช ที่นาเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูง และมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้องซื้อปัจจัยการผลิตในราคาที่สูงขึ้น
    ๔.๖ กลุ่มทุนต่างชาติสนใจเข้ามาประกอบธุรกิจทางการเกษตรในไทย โดยมีกระแสข่าวชาวต่างชาติร่วมมือกับคนไทยทำการกว้านซื้อหรือเช่าที่นาหลายรูปแบบให้ราคาสูง ในหลายจังหวัดโดยเฉพาะพื้นที่แหล่งปลูกข้าวในภาคกลาง ส่งผลกระทบให้ชาวนาไม่มีที่ดินทากินเสียค่าเช่า และพื้นที่นาถูกเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน
    ๔.๗ สถานการณ์น้ำมันโลกมีราคาแพงและมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้ชาวนาหันไปปลูกพืชพลังงานในนาข้าวที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกข้าว
    ๔.๘ งานวิจัยและงานส่งเสริมข้าวในต่างประเทศมีการสนับสนุนงบประมาณมากกว่าประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศที่ผลิตและส่งออกข้าวเป็นหลัก เช่น เวียดนาม สหรัฐอเมริกา มีการลงทุนในการพัฒนาข้าว และชาวนามากกว่าไทย สหรัฐอเมริกาเร่งวิจัยข้าวหอมเพื่อทดแทนการนาข้าวหอมมะลิจากไทย เวียดนามเร่งพัฒนาข้าวหอมเพื่อแข่งกับข้าวของไทย

    จากประเด็นการวิเคราะห์ประเมินสภาพแวดล้อมของสถานการณ์ข้าวไทย จึงสามารถสรุปเป็นสาระสำคัญได้ดังนี้
การวิเคราะห์ประเมินสภาพแวดล้อมของสถานการณ์ข้าวไทย
จุดแข็ง
๑. S1 ผลิตข้าวได้หลายชั้นคุณภาพ
๒. S2 ความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าวสูง
๓. S3 สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยเสถียรภาพการผลิตข้าวสูง

จุดอ่อน
๑. W1 ต้นทุนการผลิตสูง
๒. W2 ประสิทธิภาพการผลิตข้าวต่ำ
๓. W3 ชาวนารายย่อยส่วนใหญ่ขาดความรู้
๔. W4 คุณภาพข้าวบางส่วนลดต่ำลง
๕. W5 มีองค์กรดูแลหลากหลายมาก

โอกาส
๑. O1 ความต้องการข้าวของโลกยังขยายตัวเพิ่มขึ้น
๒. O2 ข้าวคุณภาพดียังเป็นที่ต้องการของตลาดมาก
๓. O3 ความตื่นตัวเรื่องสุขภาพของประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้น

อุปสรรค
๑. T1 มาตรการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้นมาก
๒. T2 ประเทศคู่แข่งเริ่มมีความแข็งแกร่งมากขึ้นทั้งด้านการค้าและผลิต
๓. T3 ต่างประเทศลงทุนด้านการวิจัยมากกว่าไทย
๔. T4 สภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลกระทบต่อการผลิตข้าวไทยโดยรวม
๕. T5 ปัจจัยการผลิตนาเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น
๖. T6 พื้นที่ปลูกข้าวลดลง

ยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙
    ยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) เป็นการกำหนดทิศทางงานวิจัยข้าวไทย ในการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยเผยแพร่ให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน นักวิจัย และผู้ที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางประกอบการจัดทำโครงการวิจัยข้าวที่เป็นเอกภาพเพื่อให้งานวิจัยข้าวไทยสัมฤทธิ์ผลภายใต้การใช้ฐานทรัพยากรทางการเกษตรอย่างเหมาะสม บนพื้นฐานของข้อมูลและองค์ความรู้ใหม่ ในการเพิ่มผลิตภาพและศักยภาพการแข่งขันที่สอดคล้องกับตลาด และวิถีชีวิตของเกษตรกร เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการบริหารจัดการที่ดี พร้อมด้วยการพัฒนานักวิจัยและเครือข่ายวิจัยที่มีคุณภาพ สร้าง ประสาน ส่งเสริมสนับสนุนและเชื่อมโยง ความร่วมมืองานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ

วิสัยทัศน์งานวิจัยข้าวไทย ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙
ทิศทางงานวิจัยข้าวไทยที่ใช้ฐานทรัพยากรทางการเกษตรอย่างเหมาะสม ทำให้ผลิตภาพเพิ่มขึ้น สามารถแข่งขันได้บนหลักวิชาการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเกษตรกร และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

พันธกิจ
    ๑. สร้างงานวิจัยที่เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมไทย
    ๒. ส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัยที่ใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ
    ๓. สร้างงานวิจัยเพิ่มผลิตภาพตลอดห่วงโซ่อุปทานข้าวไทย
    ๔. สร้างและพัฒนางานวิจัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์งานวิจัยข้าวไทย การกำหนดทิศทางวิจัยข้าวไทย แบ่งออกเป็น ๕ ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย
    ๑. ยุทธศาสตร์ด้านพันธุ์ข้าว
    ๒. ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการผลิตข้าว
    ๓. ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
    ๔. ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการแปรรูป
    ๕. ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจและการตลาดข้าว

ยุทธศาสตร์ด้านพันธุ์ข้าว
    ยุทธศาสตร์งานวิจัยด้านพันธุ์ข้าวจะมีศักยภาพในเรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวสูง และตอบสนองกับความต้องการข้าวของโลกที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

เป้าประสงค์ เป็นการสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมเพื่อตลาดส่งออกและเพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ

กลยุทธ์ที่ ๑ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสมเพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ
กลยุทธ์ที่ ๒ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กลยุทธ์ที่ ๓ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพื้นที่นาน้ำฝนและนาชลประทานเพื่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ
กลยุทธ์ที่ ๔ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มคุณภาพทางโภชนาการ เภสัชวิทยา และข้าวลักษณะเฉพาะ

แผนงานสาหรับกลยุทธ์ที่ ๑ – ๔
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตข้าวนาชลประทาน
    การวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวในนิเวศนาชลประทาน
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวลูกผสม
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีด้านสรีรวิทยาให้ได้พันธุ์ใหม่เพิ่มผลผลิต
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตในนาน้ำฝน
    การวิจัยการเพิ่มศักยภาพผลผลิตข้าวนาชลประทาน
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มคุณภาพทางโภชนาการหรือข้าวลักษณะเฉพาะ
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อความมั่นคงทางอาหาร (ข้าวไร่ ข้าวที่สูง)

ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการผลิตข้าว
    ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการผลิต จะมีศักยภาพในเรื่องที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมข้าวสูง และยังมีความต้องการสนับสนุนการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว

เป้าประสงค์ เป็นการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ เช่น เมล็ดพันธุ์ เครื่องจักรกลการเกษตรที่เหมาะสม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในเขตนาอาศัยน้ำฝนและเขตชลประทาน

กลยุทธ์ที่ ๑ การวิจัยการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
กลยุทธ์ที่ ๒ การวิจัยการเพิ่มศักยภาพผลผลิตและประสิทธิภาพข้าวนาน้ำฝน
กลยุทธ์ที่ ๓ การวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวในนิเวศนาชลประทาน
กลยุทธ์ที่ ๔ การวิจัยการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพข้าว
กลยุทธ์ที่ ๕ การวิจัยพัฒนาสถาบันชาวนาและเสริมสร้างขีดความสามารถของเกษตรกร

แผนงานสำหรับกลยุทธ์ที่ ๑ – ๕
    การวิจัยการเพิ่มศักยภาพผลผลิตข้าวนาชลประทาน
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีด้านสรีรวิทยาให้ได้พันธุ์ใหม่เพิ่มผลผลิต
    การวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวในนิเวศนาชลประทาน
    การวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวในนิเวศนาน้ำฝน
    การวิจัยการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตในนาน้ำฝน
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อความมั่นคงทางอาหาร(ข้าวไร่ ข้าวที่สูง)
    การวิจัยและพัฒนาพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตข้าวนาชลประทาน
    การใช้เครื่องจักรกลการเกษตรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพข้าว
    การพัฒนาสถาบันชาวนาและเสริมสร้างขีดความสามารถของเกษตรกร
    การวิจัยด้านการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของภาคเกษตรกร

ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
เป้าประสงค์ เป็นการสนับสนุนการวิจัยเพื่อลดความเสียหายและเพิ่มมูลค่าหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

กลยุทธ์ที่ ๑ การวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพข้าว
กลยุทธ์ที่ ๒ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมในเขตผลิตข้าวนาปรังและข้าวหอมมะลิ การผลิตข้าวในเขตชลประทาน
กลยุทธ์ที่ ๓ การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้าวเปลือกและข้าวขาวเพื่อชะลอการสูญเสียเมล็ดทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ รวมทั้งความปลอดภัยในการบริโภค

แผนงานสาหรับกลยุทธ์ที่ ๑ – ๓
    การวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพข้าว
    การวิจัยประเภทข้าวที่ผู้บริโภคนิยมในแต่ละภูมิภาคของประเทศและต่างประเทศ
    การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมในเขตผลิตข้าวนาปรังและข้าวหอมมะลิ
    การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาข้าวเปลือกและข้าวขาวเพื่อชะลอความเสื่อมคุณภาพ

ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีการแปรรูป
เป้าประสงค์ เป็นการสนับสนุนการวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการนาผลิตภัณฑ์จากข้าวมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากการนำมาบริโภคเป็นอาหารในรูปของข้าวหุงสุก

กลยุทธ์ที่ ๑ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปและบรรจุภัณฑ์ ตลอดจนการควบคุมคุณภาพ ข้าวไทยที่มีคุณภาพหลากหลาย เช่น ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า
กลยุทธ์ที่ ๒ การวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวสู่อุตสาหกรรม

กลยุทธ์ที่ ๓ การวิจัยและพัฒนาการเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์จากข้าวเพื่อการโภชนาการและเภสัชกรรม
กลยุทธ์ที่ ๔ การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวคุณภาพต่าและข้าวนึ่ง

แผนงานสาหรับกลยุทธ์ที่ ๑ – ๔
    ส่งเสริม และสนับสนุนให้นักวิจัยศึกษางานวิจัยเชิงลึกเพื่อสร้างองค์ความรู้ในการต่อยอดขยายผลงาน ตลอดจนแนวทางในการควบคุมคุณภาพ

ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจและการตลาดข้าว
เป้าประสงค์ เป็นการสนับสนุนการวิจัยเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของตลาดข้าว และสร้างความเข้มแข็งของธุรกิจเกษตรที่มีข้าวเป็นหลัก

กลยุทธ์ที่ ๑ การวิจัยเชิงนโยบายและการพัฒนาเศรษฐกิจการผลิตข้าว
กลยุทธ์ที่ ๒ การวิจัย และพัฒนาการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของภาคเกษตรกร
กลยุทธ์ที่ ๓ การวิจัยและส่งเสริมตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ
กลยุทธ์ที่ ๔ การวิจัยเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจการค้าข้าวของรัฐบาล
กลยุทธ์ที่ ๕ การวิจัยเพื่อพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของชาวนา
กลยุทธ์ที่ ๖ การวิจัยประเภทข้าวที่ผู้บริโภคนิยมในแต่ละภูมิภาคของประเทศและต่างประเทศ

แผนงานสาหรับกลยุทธ์ที่ ๑ – ๖
    สนับสนุนให้เกิดกิจกรรมระหว่างกลุ่มเกษตรกร ผู้ส่งออก และนักวิจัย เพื่อกำหนดกรอบทิศทางพัฒนางานวิจัยเชิงนโยบายด้านการผลิต และเศรษฐกิจข้าวไทยในเชิงรุกอย่างชัดเจน

ขอขอบคุณ
ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
ภารกิจโครงการและประสานงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ


ย้อนกลับ