หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด > เปลวเพลิงพลาสม่า พลังน้ำ - ฉลาดคิด
เปลวเพลิงพลาสม่า พลังน้ำ - ฉลาดคิด 22 มกราคม 2556

เปลวเพลิงพลาสม่า พลังน้ำ - ฉลาดคิด
วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2555 เวลา 00:00 น.

    คว้ามา 3 รางวัลจากเวทีการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติที่ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี หรือ งาน “โซล อินเตอร์เนชั่นแนล อินเวนชั่น แฟร์
2012”กับผลงานสิ่งประดิษฐ์คนไทย “เครื่องปฏิกรณ์ เปลวเพลิงพลาสม่า พลังงานน้ำ–ไฟฟ้า” แค่ชื่อ… หากไม่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมคงไม่รู้จัก
    “ผู้ช่วยศาสตราจารย์โกศิน สวนานนท์” อาจารย์จากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร เหนือ เจ้า
ของผลงาน บอกว่า สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ ก็คือเครื่องจักรกลชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการผลิตความร้อนสูงในงานตัดเชื่อมหรือประสานโลหะ ในภาคอุตสาหกรรม
สร้างขึ้นมาตามแนวคิดการประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานประสมจากน้ำร่วมกับไฟฟ้า เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานในภาค
อุตสาหกรรม ทั้งนี้พลาสม่า ก็คือ สถานะที่สี่ของสสารที่ให้พลังงานทางฟิสิกส์ในรูปแบบของความร้อน แสง เสียง สูงมาก สถานะนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อ
อิเล็กตรอนวงนอกสุดของสสารนั้นหลุดออกจากวงโคจร อาจทำได้ด้วยวิธีการใช้ความร้อน จากไมโครเวฟ คลื่นวิทยุความถี่สูง หรือการสั่นด้วยความเร็วสูง
มาก เช่น เฟียโซคริสตอน อุลตราโซนิกส์เมื่ออิเล็กตรอนวงสุดท้ายหลุดออกจากวงโคจร โม เลกุลของสารนั้นที่จะขาดความสมดุลต้องดึงอิเล็กตรอนกลับเข้า
มาทดแทน เมื่ออิเล็กตรอนกลับคืนเข้าสู่วงโคจรใหม่ จะเกิดการคลายพลังงานทางฟิสิกส์ ความร้อน แสง เสียงออกมามากพอที่จะนำไปใช้ได้ ขั้นตอนนี้จะ
เรียกว่า กลายเป็นอิออน สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้ หรือเรียกว่า พลาสม่า นั่นเองสำหรับการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ “เปลวเพลิงพลาสม่า” ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์โกศินบอกว่า จะต้องมีแหล่งจ่ายไฟฟ้า แรงดันสูงกระแสตรงหรือกระแสสลับ เพื่อให้หัวปฏิกรณ์ เปลี่ยนสถานะจากน้ำเข้าสู่สถานะพลาสม่าได้
สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงความร้อนได้ ซึ่งจะให้อุณหภูมิสูงกว่า 2,500 องศาเซลเซียส ประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกับเปลวเพลิงที่ใช้ก๊าซทั่วไปแต่ให้ความร้อน
สูงกว่า และไม่ต้องใช้ปั๊มลม เช่น งานเชื่อมประสาน บัดกรี ตัดโลหะ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม สเตนเลส ตัดอโลหะ เช่น กระเบื้องเซรามิก แก้ว ควอทซ์ อิฐ
คอนกรีต

    จุดเด่นของผลงานนี้ก็คือไม่มีมลพิษ และสามารถใช้งานในห้องแอร์ได้ เพราะหัวปฏิกรณ์ทำงานในลักษณะเปิด ไม่มีการระเบิดปัจจุบันนวัตกรรม
นี้เป็นที่สนใจของนักลงทุนเกาหลี แต่เจ้าของผลงานบอกว่า อยากที่จะผลิตเพื่อให้เกิดการใช้งานในไทยมากกว่า แม้ว่าขณะนี้ตลาดในประเทศไทยความต้อง
การเครื่องจักรประเภทนี้จะยังมีน้อย ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีก 3-5 ปี ช่วงนี้จึงเน้นไปที่การผลิตเป็นหัวปฏิกรณ์ความร้อนสูง ที่เหมาะสำหรับเตาเผาขยะต่าง ๆ
โดยมีประสิทธิภาพในการเผาได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องแยกขยะและลดเวลาในการเผาจากเดิมที่ต้องใช้ประมาณ 4 ชั่วโมงเหลือเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น รวมถึง
การผลิตเพื่อประยุกต์ใช้กับวงการจิวเวลรี่ เช่น การเผาเพื่อเปลี่ยนสีพลอยผู้วิจัย บอกอีกว่า ส่งผลงานเข้าร่วมแสดงในระดับนานาชาติครั้งนี้เป็นปีแรก โดย
ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) รางวัลที่ได้รับก็คือ รางวัลสเปเชี่ยล ไพร์ซ ทั้งจากหน่วยงานด้านสิ่งประดิษฐ์ของไต้หวัน
และสเปเชี่ยล อวอร์ดของเกาหลี รวมถึงรางวัลเหรียญทองจากคิป้าหรือสมาคมส่งเสริมการประดิษฐ์แห่งสาธารณรัฐเกาหลี และการได้รับรางวัลจากเวที
ต่างประ เทศแบบนี้เอง จะช่วยการันตีว่าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ใช้งานได้จริง!!!.

นภาพร พานิชชาติ
napapornp@dailyners.co.th

ขอขอบคุณ
ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ
http://www.dailynews.co.th/technology/174609


ย้อนกลับ