หน้าแรก > ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด > บทบาทของเทคโนโลยีกับ “Social Distancing”
บทบาทของเทคโนโลยีกับ “Social Distancing” 20 พฤษภาคม 2563

บทบาทของเทคโนโลยีกับ “Social Distancing” กับช่วงการระบาดของเชื้อโรคและ New normal ที่จะเกิดขึ้น เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยและตอบโจทย์ได้อย่างไรบ้าง และเทคโนโลยีไหนที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจนมากขึ้น และมาพร้อมกับโปรแกรมช่วยเหลือจาก IBM เพื่อสนับสนุนองค์กร ภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการ ให้รอดพ้นไปด้วยกัน

Social Distancing หรือ “อยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ” เป็นการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลเพื่อลดการแพร่ระบาดซึ่งกันและกัน การแพร่ระบาดของเชื้อโรคนี้ ในบางประเทศยังมีแพลนที่จะยึดหลักการนี้ต่อไปอีก 1-2 ปี ทำให้เทคโนโลยีต่างๆ ถูกงัดขึ้นมาใช้งาน ทุกรูปแบบ จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันในช่วงนี้ ทำให้จากโลก Analog สู่ Digital อย่างเต็มตัวก็ว่าได้ เพราะลักษณะพฤติกรรมของผู้บริโภคถูกบังคับให้เข้าสู่โลก Digital อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ เร็วกว่า สะดวกกว่า ปลอดภัยกว่า ถูกกว่า เนื่องมาจากมาตรการที่ออกมาต่างก็เน้นใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสนับสนุนทั้งนั้น
“The key technology for social distancing – ”
มาดูกันว่าเทคโนโลยีไหน ที่เราคาดการณ์ว่าจะถูกหยิบยกและนำมาต่อยอดใช้งานกันบ้าง…
1.) Blockchain : เมืองไทยอาจจะพูดถึงอย่างมากที่ผ่านมา แต่อาจจะยังไม่เห็นนำมาใช้งานมากนัก แต่ที่ประเทศจีนนำเอาเทคโนโลยีนี้มาใช้งานกับระบบ supply chain ในการจัดส่งสินค้า ช่วยลดความล่าช้าในการจัดส่ง และลดข้อพิพาทลง ในขณะที่ป้องกันไม่ให้สินค้าติดขัดระหว่างจัดส่ง เพิ่มความโปร่งใส ตรวจสอบได้
และนอกจากนี้ฝั่งของ Financial ใช้เทคโนโลยีนี้ เข้ามาใช้ในการจัดประมูลออนไลน์ โดยที่คนไม่ต้องเข้ามานั่งประมูลในห้อง เพื่อลดการแพร่ระบาด โดยการประมูลจะเป็นการโหวตผ่าน Blockchain แทน ซึ่งด้วยความโปร่งใสของเทคโนโลยีนี้ ทำให้ไม่สามารถล๊อคผลโหวตหรือโกงการประมูลได้
2.) Data & AI Technology : คนไทยเริ่มตื่นตัวกับเทคโนโลยีนี้มาสักพักแล้ว แต่จะเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจนมากขึ้น เพราะเนื่องจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นทำให้ เริ่มมีการมองหาช่องทาง การนำเอาข้อมูลที่มี มาใช้งานร่วมกับเทคโนโลยี AI และรวมถึงหุ่นยนต์ เข้ามาช่วยทำงานบางส่วนแทนมนุษย์เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ส่วนมนุษย์จะปลอดภัยขึ้นด้วยการมาทำหน้าที่ในส่วนการสอน AI หรือทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญแทน ทำให้บริษัทไม่หยุดชะงักในสถานการณ์เช่นนี้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ไม่มีใครสามารถรู้ได้ แต่การเตรียมความพร้อมก็สามารถทำให้ บริษัทของเรายังคงเดินหน้าต่อไปได้ ในสถานการณ์วิกฤติที่อาจจะเกิดขึ้นอีก
3.) Cashless Society – Payment System : สังคมไร้เงินสด ด้วยวิกฤติครั้งนี้ทำให้ทุกร้านค้าใช้จ่ายแบบไร้เงินสดเกือบ 90% หรือเกือบทั้งหมด ที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นและส่วนมากใช้งานกันเป็นประจำบ้างแล้ว เพราะใช้งานง่าย ทั้งโปรโมชั่นและส่วนลดต่างๆ ก็ดึงดูดมากทีเดียว แต่ตอนนี้ร้านไหนไม่มี คงไม่ได้แล้ว ร้านเล็กใหญ่มีหมด เพื่อลดการแพร่ระบาดจากการจับต้องเงินสด ด้วยการจ่ายผ่าน QR code หรือ online payment แทน
4.) RPA – Robotic Process Automation : เป็นอีกรูปแบบของกระบวนการอัตโนมัติทางธุรกิจที่อนุญาตให้ทุกคนกำหนดชุดคำสั่งสำหรับหุ่นยนต์หรือ “บอท-Bot” เพื่อดำเนินการแทน
RPA-Bot สามารถเลียนแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เพื่อทำงานที่ปราศจากข้อผิดพลาดที่ปริมาณและความเร็วสูง สามารถช่วยให้พนักงานลดใช้เวลา ลดการทำปฏิสัมพันธ์ (Interact)กับงานซ้ำ ๆ ลง ดังนั้นพวกเขาจึงสามารถมุ่งเน้นไปที่งานที่มีมูลค่าสูง และสำคัญต่อภารกิจแทนได้
โดย RPA ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายธุรกิจ เนื่องจาก ROI เชิงปริมาณและรวดเร็วต่อราคาทำให้ RPA ได้รับความสนใจจากหลากหลายอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น บริการทางการเงินไปจนถึงการดูแลสุขภาพ, ไอที, การผลิต, การค้าปลีก, โทรคมนาคม, การขนส่ง, สาธารณูปโภคและอื่น ๆ ทั้งหมดนี้ขับเคลื่อนด้วยความต้องการและเป้าหมายที่คล้ายคลึงกันรวมถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นต้นทุนที่ลดลงข้อผิดพลาดน้อยลงและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ
ซึ่งได้นำ RPA technology มาใช้ในการดำเนินงานและเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐาน ไปเป็นแบบ paperless ซึ่ง RPA นั้นสามารถอ่านข้อมูลจาก excel file ได้ด้วย ตัวอย่างเช่น เอกสารใบวางบิล (Billing Note), ใบกำกับภาษี (Tax-Invoice) และการตรวจสอบการบันทึกต่างๆ รวมไปถึงงานเอกสาร อาทิเช่น Word, Excel เป็นต้น

สรุปทิ้งท้าย…
ในอนาคต New normal ที่จะเกิดขึ้น หลังจากวิกฤตินี้ อาจจะทำให้เราเห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ Mobile application เจ๋งๆ หรือ ไอเดียจากหลากหลายอาชีพมากขึ้น เราในฐานะผู้บริโภค ผู้ประกอบการ อาจจะต้องเตรียมความพร้อมที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ส่วนตัวบุคคลหรือพนักงานอาจจะต้องทำการ re-skill หรือ up-skill เพื่อรองรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้น เพราะความสามารถแบบเดิมอาจจะใช้ไม่ได้อีกต่อไป เพื่อพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง เราควรปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วย

ในช่วงวิกฤตินี้ IBM ได้มีโปรแกรมหลากหลาย ที่จะเข้ามาช่วยเหลือองค์กรให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ตัวอย่างเช่น
1.) ช่วยดูแลระบบแทนคุณช่วง WFH ด้วย AI-based management (Free-of-charge)
Monitor and troubleshoot data storage performance
ลงทะเบียนใช้งานได้ที่ : https://www.techtalkthai.com/ibm-give-free-ai-base-storage-management/
2.) ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการสำรองข้อมูล (Download และใช้งานได้ฟรี 90วัน)
Modern Data Protection data backup and recovery
ลงทะเบียนใช้งานได้ที่ :https://www.ibm.com/account/reg/th-en/signup?formid=urx-43835
3.) เปิดให้ทีมแพทย์และนักวิจัยใช้ AI มาสร้างโมเดลเพื่อการวิเคราะห์ภาพเอ็กซ์เรย์และภาพ CT-SCAN ในการนำมาใช้สำหรับคัดแยกผู้ติดเชื้อ
ดูขั้นตอนเพิ่มเติม :https://youtu.be/6Bpxii2yU8I
4.) 4 แนวทางสําคัญสําหรับผู้นําองค์กรผ่านพ้นช่วงวิกฤติ
ไอบีเอ็มจัดทําแนวทางการปฏิบัติเพื่อเป็นการสนับสนุนผู้นําองค์กรให้สามารถนําพาธุรกิจผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ ไปด้วยกัน โดยคู่มือ COVID-19 Action Guide กับแนวทางที่ต้องดําเนินงานอย่างเร่งด่วนในการรับมือกับ 4 ปัจจัยหลักที่มีผลสูงสุดต่อองค์กรคือพนักงานลูกค้าและคู่ค้าการเงินและการปฏิบัติ การรวมถึงผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจต่างๆ
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม : https://ibm.co/39kd9LV

หากสนใจเพิ่มเติมสามารถติดต่อทาง IBM Thailand มีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษากับทุกท่าน Inbox เข้ามาได้ที่ Facebook IBM Thailand: https://www.facebook.com/IBMThailand/


ย้อนกลับ